นอกจากนี้ยังมีการใช้สัญลักษณ์หรือไอคอนที่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ร้องไห้ หัวเราะ ยิ้ม แทนภาษาเขียนอีกด้วย ซึ่งแม้จะมีบางท่านที่มองว่าการใช้ภาษาในลักษณะนี้เป็นวิวัฒนาทางการภาษาเฉพาะกลุ่มของวัยรุ่น แต่ภาษาแช็ตไม่มีไวยากรณ์ อีกทั้งการใช้บ่อย ๆ จะทำให้เด็กเคยชินและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นเรื่องปกติ แม้แต่ในการทำการบ้านฃหรือการทำข้อสอบก็ตาม จึงน่าหวั่นเกรงว่าภาษาไทยจะเสียหายจนถึงขั้นวิกฤติได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันที่พบว่า ในระดับอุดมศึกษามีการพัฒนาบุคลากรด้านภาษาไทยน้อยที่สุด และปัญหาที่พบคือ การพูดไม่ชัด ใช้คำไม่ถูกต้อง และพูดวกวน ส่วนการเขียน มักใช้คำผิดความหมาย การอ่านนั้นส่วนใหญ่ออกเสียงไม่ถูก และจับใจความไม่ได้ และจากการสำรวจเมื่อปลายปีที่แล้ว พบว่า เด็กไทยชั้นป.3 อ่านหนังสือไม่ออก-เขียนไม่ได้ ราว7-8 หมื่นคน เหล่านี้เป็นข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันได้อย่างชัดเจน
การเปลี่ยนแปลงทางภาษาของวัยรุ่นไทยดังกล่าวนั้น ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งผิด แต่เป็นเรื่องของความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมมากกว่า ศัพท์แสลงหรือคำเฉพาะกลุ่มต่าง ๆ นั้น หากนำไปใช้เพื่อสื่อสารกันเองภายในกลุ่มเล็ก ๆ ก็คงไม่เสียหายเท่าใดนัก แต่หากอยู่ในที่สาธารณะหรือใช้สื่อสารอย่างเป็นทางการ การพูดคุยกับผู้ใหญ่ หรือในการเรียนนั้น ก็ควรจะต้องใช้ภาษาที่ถูกต้องทั้งในการพูด อ่านและเขียน อย่างไรก็ตาม การจะให้เด็กใช้ภาษาไทยอย่างสุภาพและถูกต้องนั้น ผู้ใหญ่ พ่อแม่ ครู อาจารย์ และบุคคลสาธารณะต่าง ๆ ควรจะสอนและเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กด้วย มิเช่นนั้นจะโทษว่าเด็กยุคใหม่ทำให้ “ภาษาไทยวิบัติ” ก็คงจะไม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น