...ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บบล็อกเพื่อการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยความยินดี...

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์(integriry)

...เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถ(competency)อย่างหนึ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของบุคคล ช่วยให้เกิดความไว้วางใจ  น่าเชื่อถือ และเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้และดำเนินงานของบุคคลหรือองค์กร

.....การจัดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูในภาคเรียนที่ 2/2554 มุ่งเน้นในการใช้ความซื่อสัตย์เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อกำกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในแบบรายบุคคลและแบบทีม

.....ความซื่อสัตย์ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า honest หรือ integrity เป็นพฤติกรรมที่จริงใจตรงไปตรงมาไม่อคติไม่ลำเอียง เป็นความประพฤติที่สามารถนำมนุษย์และสังคมไปสู่ความสุขสงบได้

.....ประเภทของความซื่อสัตย์ ความซื่อสัตย์แบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น

.....1. ความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ผู้ที่มีความจำเป็นจะต้องรักษาความซื่อสัตย์ประเภทนี้ไว้คือ
....ครู อาจารย์ เป็นบุคคลที่ต้องปฏิบัติหน้าที่โดยครบถ้วนสมบูรณ์และทุ่มเทความอุตสาหะอย่างเต็มที่ในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เป็นศิษย์ นักเรียน และผู้ที่สนใจในการศึกษา จะต้องทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอน ถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติที่ดีและถูกต้อง ปฏิบัติตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์และคนทั่วไป จะปิดบังหรือบิดเบือนความรู้ไม่ได้ เพราะการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดขั้นมหันต์
.....นักเรียน จำเป็นจะต้องมีความซื่อสัตย์ มีความซื่อตรง ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน และแสวงหาวิชาความรู้ที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันก็จะต้องมีคุณธรรม มีศีลธรรม ไม่กระทำโดยออกนอกกรอบบัญญัติของศาสนา

.....2. ความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงาน เป็นการประกอบอาชีพการงานด้วยความซื่อตรง ตรงต่อเวลา ไม่บิดพริ้ว หลีกเลี่ยง คดโกง ทุจริตในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ

.....3. ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง บุคคลต้องซื่อสัตย์ต่อตนเองโดยดูแลรักษาสุขภาพให้มีความแข็งแรง กระปี้กระเปร่า มีความสุขทั้งกายและใจ ในหลายศาสนาได้บัญญัติข้อห้ามไม่ให้รับประทานอาหารที่เป็นโทษต่อร่างกายไว้ เช่น สุรา ยา เสพติด ซากสัตว์ที่ตายเอง นอกจากนี้ยังสอนให้ซื่อสัตย์ต่อสิ่งที่เป็นกรรมสิทธิ์หรือผู้ที่อยู่ภายให้การรับผิดชอบด้วยการดูแลเอาใจใส่ เช่น ทรัพย์สิน ตระกูล สามี ภรรยา พ่อแม่ เป็นต้น

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตำนาน"แม่นาค"

          แม่นาคพระโขนง เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับผีตายทั้งกลมที่เป็นที่รู้จักกันดีเรื่องหนึ่งของไทย เชื่อว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีตัวตนอยู่จริง ปัจจุบันมี ศาลแม่นาค ตั้งอยู่ที่ วัดมหาบุศย์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร

          เรื่องราวของแม่นาคพระโขนง ปรากฏอยู่ทั่วไปตามความเชื่อของคนไทยสมัยก่อน และปัจจุบัน เช่น เชื่อว่าชื่อสี่แยกมหานาค ที่เขตดุสิตในปัจจุบัน มาจากการที่แม่นาคอาละวาดขยายตัวให้ใหญ่ และล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ก็ยังเคยเสด็จทอดพระเนตรด้วย , เชื่อว่าพระสงฆ์รูปที่มาปราบแม่นาคได้นั้นคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ [โต พรหมรังสี] อีกทั้งยังเชื่อว่า ท่านได้เจาะกะโหลกที่หน้าผากของแม่นาคทำเป็นปั้นเหน่ง เพื่อสะกดวิญญาณแม่นาค และได้สร้างห้องเพื่อเก็บปั้นเหน่งชิ้นนี้ไว้ต่างหาก ,หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ยังได้เขียนบันทึกเอาไว้ว่า เมื่อสมัยเด็กๆ ท่านเคยเห็นสิ่งที่เชื่อว่าเป็นรอยเท้าแม่นาคบนขื่อเพดานวัดมหาบุศย์ด้วย ซึ่งปัจจุบันศาลาที่ถูกเขียนนี้ได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว
ถึงอย่างไร ความเชื่อเรื่องแม่นาคพระโขนง ก็ยังปรากฏอยู่ในความเชื่อของคนไทย ณ วัดมหาบุศย์ เขตสวนหลวง ปัจจุบันนี้ มีศาลแม่นาคตั้งอยู่ ซึ่งเป็นที่สักการะ เคารพบูชาอย่างมากของบุคคลในและนอกพื้นที่ โดยบุคคลเหล่านี้จะเรียกแม่นาคด้วยความเคารพว่า "ย่านาค" บ้างก็เชื่อกันว่าแม่นาคได้ไปเกิดใหม่แล้ว

วัยรุ่นกับภาษาไทย ◡‿◡❀

      พูดไทยไม่ค่อยชัด...แต่ภาษาอังกฤษ...ไม่ได้เลย” เป็นมุขตลกที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ แต่ประโยคดังกล่าวไม่ได้เป็นแค่มุขตลกขำ ๆ อีกแล้ว เพราะปัจจุบันมีคนไทยจำนวนมากที่กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ “พูดภาษาไทยก็ไม่ค่อยชัดอยู่แล้ว แต่ภาษาอังกฤษก็ไม่ดีเช่นกัน” หรืออาจกล่าวได้ว่ากำลังมีอาการของโรคสมมุติที่เรียกว่า “โรคภูมิคุ้มกันภาษาไทยบกพร่อง” โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น ซึ่งอาการที่พบมากที่สุดก็คือ โรค ร ล ลักปิดลักเปิด ซึ่งมักออกเสียง ร ไม่ได้ หรือออกเสียงเป็นเสียง R ในภาษาอังกฤษ  โรค ส ซ อักเสบ โดยมักมีเสียงพ่นหน้าคำมากเกินไปจนคล้ายกับเสียง S ของภาษาอังกฤษและโรควรรณยุกต์เคลื่อนเรื้อรัง ซึ่งเป็นการออกเสียงวรรณยุกต์เคลื่อนที่ไปจากระดับเสียงหนึ่ง เช่น แม่ เป็น แม้ ผีเสื้อ เป็น ผี่เสื้อ เป็นต้น ทั้งนี้ปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพูดและเขียนภาษาไทยของวัยรุ่นก็คือ สื่อมวลชนนั่นเอง โดยเฉพาะ โทรทัศน์ วิทยุ และอินเตอร์เน็ต กล่าวคือ เด็กวัยรุ่นมักจะเลียนแบบการออกเสียงการพูดของดารา ศิลปินนักร้อง รวมทั้งพิธีกรรายการ ตลอดจนดีเจที่ตนเองชื่นชอบ เพราะคิดว่าเป็นความเท่ห์ มีเสน่ห์ โดยมักพูดไทยสำเนียงฝรั่ง ใช้ภาษาพูดปนกับภาษาเขียน หรือพูดไทยคำ อังกฤษคำ เป็นต้น ส่วนด้านการเขียนนั้น พบว่า เด็กไทยเขียนภาษาไทยกันไม่ค่อยถูกต้อง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเคยชินกับภาษาเขียนที่ใช้ในการเขียนกลอนวัยรุ่น การส่งข้อความผ่านมือถือ และการเขียนในอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะจากการแช็ต ที่จะเน้นเขียนคำให้สั้นที่สุด เช่น “555” แทนเสียงหัวเราะ “เดว” แทนคำว่า “เดี๋ยว” “ไปเดก่า” แทนคำว่า “ไปดีกว่า” คำว่า “ไม่เป็นไร” ก็เขียนเป็น “ม่ายเปนราย” งุงิ คริคริ แทนความรู้สึกบางอย่าง สาด-กรู เป็นต้น 

   
       นอกจากนี้ยังมีการใช้สัญลักษณ์หรือไอคอนที่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ร้องไห้ หัวเราะ ยิ้ม แทนภาษาเขียนอีกด้วย ซึ่งแม้จะมีบางท่านที่มองว่าการใช้ภาษาในลักษณะนี้เป็นวิวัฒนาทางการภาษาเฉพาะกลุ่มของวัยรุ่น แต่ภาษาแช็ตไม่มีไวยากรณ์ อีกทั้งการใช้บ่อย ๆ จะทำให้เด็กเคยชินและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นเรื่องปกติ แม้แต่ในการทำการบ้านฃหรือการทำข้อสอบก็ตาม จึงน่าหวั่นเกรงว่าภาษาไทยจะเสียหายจนถึงขั้นวิกฤติได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันที่พบว่า ในระดับอุดมศึกษามีการพัฒนาบุคลากรด้านภาษาไทยน้อยที่สุด และปัญหาที่พบคือ การพูดไม่ชัด ใช้คำไม่ถูกต้อง และพูดวกวน ส่วนการเขียน มักใช้คำผิดความหมาย การอ่านนั้นส่วนใหญ่ออกเสียงไม่ถูก และจับใจความไม่ได้ และจากการสำรวจเมื่อปลายปีที่แล้ว พบว่า เด็กไทยชั้นป.3 อ่านหนังสือไม่ออก-เขียนไม่ได้ ราว7-8 หมื่นคน เหล่านี้เป็นข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันได้อย่างชัดเจน 




      การเปลี่ยนแปลงทางภาษาของวัยรุ่นไทยดังกล่าวนั้น ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งผิด แต่เป็นเรื่องของความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมมากกว่า ศัพท์แสลงหรือคำเฉพาะกลุ่มต่าง ๆ นั้น หากนำไปใช้เพื่อสื่อสารกันเองภายในกลุ่มเล็ก ๆ ก็คงไม่เสียหายเท่าใดนัก แต่หากอยู่ในที่สาธารณะหรือใช้สื่อสารอย่างเป็นทางการ การพูดคุยกับผู้ใหญ่ หรือในการเรียนนั้น ก็ควรจะต้องใช้ภาษาที่ถูกต้องทั้งในการพูด อ่านและเขียน อย่างไรก็ตาม การจะให้เด็กใช้ภาษาไทยอย่างสุภาพและถูกต้องนั้น ผู้ใหญ่ พ่อแม่ ครู อาจารย์ และบุคคลสาธารณะต่าง ๆ ควรจะสอนและเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กด้วย มิเช่นนั้นจะโทษว่าเด็กยุคใหม่ทำให้ “ภาษาไทยวิบัติ” ก็คงจะไม่ได้

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิธีทำบัวลอย อาหย่อย❤

+ส่วนผสมบัวลอย+
๑.แป้งข้าวเหนียว ๒ ถ้วยตวง
๒.เผือกนึ่งสุกบดละเอียด ๑ ถ้วยตวง
๓.ฟักทอง เพื่อทำบัวลอยสีเหลือง ๑ ถ้วยตวง
๔.ใบเตย เพื่อทำบัวลอยสีเขียว ๑ ถ้วยตวง
๕.น้ำเปล่า ๑/๔ ถ้วยตวง

+ส่วนผสมน้ำกะทิ+
๑.กะทิ ๒ ถ้วยตวง
๒.น้ำตาลมะพร้าว ๑๐๐ กรัม
๓.น้ำตาลทราย ๑ ถ้วยตวง
๔.เกลือป่น ๑ ช้อนชา
๕.เนื้อมะพร้าวอ่อน,ไข่
๖.งาขาว

+วิธีทำ+
๑.ทำบัวลอยโดยผสมแป้งข้าวเหนียว,เผือกนึ่งและน้ำเปล่าเข้าด้วยกัน นวดจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นจึงนำมาปั้นเป็นลูกกลมๆ ระหว่างปั้นนั้น ควรโรยด้วยเศษแป้งข้าวเหนียวเล็กน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกบัวลอยติดกัน

๒.ต้มน้ำในหม้อขนาดกลาง รอจนเดือดจึงใส่ลูกบัวลอยที่ปั้นไว้แล้ว เมื่อบัวลอยสุกให้นำออกมาแช่ในน้ำเย็น

๓.ทำน้ำกะทิโดยผสม กะทิ,น้ำตาลมะพร้าว,น้ำตาลทรายและเกลือป่นลงไป ควรใส่น้ำตาลทรายแค่ครึ่งเดียวก่อน ถ้ายังหวานไม่พอจึงค่อยใส่เพิ่มลงไป ต้มจนเดือด จึงหรี่ไฟลง นำบัวลอยที่ต้มไว้แล้วใส่ลงไปในน้ำกะทิ ต้มต่ออีกสักพักจึงปิดไฟ ถ้ามีมะพร้าวอ่อนก็ใส่ได้เลย พร้อมลูกบัวลอย

๔.ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยงาขาว เสริฟขณะร้อนหรือรอให้เย็นก็ได้

ทุกข์ของชาวนาในบทกวีเจ้าค่า~